เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. อักโกสวรรค 5. ราชันเตปุรัปปเวสนสูตร
ธรรมที่ภิกษุผู้เป็นโจทก์พึงตั้งมั่นไว้ในตน 5 ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรม 5
ประการนี้ไว้ในตน พึงตั้งมั่นธรรม 5 ประการนี้ไว้ในตนแล้วจึงโจทผู้อื่น
กุสินารสูตรที่ 4 จบ

5. ราชันเตปุรัปปเวสนสูตร
ว่าด้วยโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นใน
[45] ภิกษุทั้งหลาย โทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นใน 10 ประการ
โทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นใน 10 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. พระราชาในโลกนี้ประทับอยู่กับพระมเหสี ภิกษุเข้าไปในที่นั้น พระมเหสี
ทรงเห็นภิกษุนั้นแล้วทรงยิ้มแย้ม หรือภิกษุเห็นพระมเหสีแล้วยิ้มแย้ม
พระราชาจะทรงสงสัยในอาการนั้นอย่างนี้ว่า “คนทั้ง 2 นี้คงได้ทำ หรือ
จักทำกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่” นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระ
ราชวังชั้นในประการที่ 1
2. พระราชาทรงมีพระราชกรณียกิจมาก เสด็จไปหาหญิงคนใดคนหนึ่งแล้ว
ทรงระลึกไม่ได้ หญิงนั้นตั้งครรภ์กับพระองค์ พระราชาก็จะทรงสงสัยใน
การตั้งครรภ์นั้นอย่างนี้ว่า “เว้นบรรพชิตเสียแล้ว ใครอื่นจะเข้ามาใน
พระราชวังชั้นในนี้ไม่ได้ กรรมนี้น่าจะเป็นการกระทำของบรรพชิต” นี้
เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในประการที่ 2
3. รัตนะอย่างใดอย่างหนึ่งในพระราชวังชั้นในหายไป พระราชาก็จะทรง
สงสัยในการที่รัตนะนั้นหายไปนั้นว่า “เว้นบรรพชิตเสียแล้ว ใครอื่นจะ
เข้ามาในพระราชวังชั้นในนี้ไม่ได้ กรรมนี้ น่าจะเป็นการกระทำของบรรพชิต”
นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในประการที่ 3
4. เรื่องลับภายในพระราชวังชั้นในแพร่งพรายออกมาภายนอก พระราชาก็
จะทรงสงสัยในเรื่องลับที่แพร่งพรายออกมาภายนอกนั้นอย่างนี้ว่า “เว้น
บรรพชิตเสียแล้ว ใครอื่นจะเข้ามาในพระราชวังชั้นในนี้ไม่ได้ กรรมนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :98 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. อักโกสวรรค 5. ราชันเตปุรัปปเวสนสูตร
น่าจะเป็นการกระทำของบรรพชิต” นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวัง
ชั้นในประการที่ 4
5. ในพระราชวังชั้นใน บิดาปรารถนาจะฆ่าบุตร หรือบุตรปรารถนาจะฆ่าบิดา
คนทั้ง 2 นั้น ต่างก็จะสงสัยอย่างนี้ว่า “เว้นบรรพชิตเสียแล้ว ใครอื่น
จะเข้ามาในพระราชวังชั้นในนี้ไม่ได้ กรรมนี้น่าจะเป็นการกระทำของ
บรรพชิต” นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในประการที่ 5
6. พระราชาทรงตั้งบุคคลผู้ควรแก่ตำแหน่งต่ำไว้ในตำแหน่งสูง คนทั้งหลาย
ที่ไม่พอใจการแต่งตั้งนั้น จะมีความสงสัยอย่างนี้ว่า “พระราชาทรง
คลุกคลีกับบรรพชิต กรรมนี้น่าจะเป็นการกระทำของบรรพชิต” นี้เป็น
โทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในประการที่ 6
7. พระราชาทรงตั้งบุคคลผู้ควรแก่ตำแหน่งสูงไว้ในตำแหน่งต่ำ คนทั้งหลาย
ที่ไม่พอใจการแต่งตั้งนั้น จะมีความสงสัยอย่างนี้ว่า “พระราชาทรง
คลุกคลีกับบรรพชิต กรรมนี้น่าจะเป็นการกระทำของบรรพชิต” นี้เป็น
โทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในประการที่ 7
8. พระราชาทรงส่งกองทัพไปในกาลไม่สมควร คนทั้งหลายที่ไม่พอใจใน
การส่งกองทัพไปนั้น จะมีความสงสัยอย่างนี้ว่า “พระราชาทรงคลุกคลี
กับบรรพชิต กรรมนี้น่าจะเป็นการกระทำของบรรพชิต” นี้เป็นโทษใน
การเข้าไปในพระราชวังชั้นในประการที่ 8
9. พระราชาทรงส่งกองทัพไปในกาลสมควร รับสั่งให้กลับเสียในระหว่างทาง
คนทั้งหลายที่ไม่พอใจในการให้กองทัพกลับเสียในระหว่างทางนั้น จะมี
ความสงสัยอย่างนี้ว่า “พระราชาทรงคลุกคลีกับบรรพชิต กรรมนี้น่าจะ
เป็นการกระทำของบรรพชิต” นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นใน
ประการที่ 9
10. พระราชวังชั้นในเป็นที่คับคั่งไปด้วยช้าง คับคั่งไปด้วยม้า คับคั่งไปด้วยรถ
มีรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ซึ่งเป็น
สิ่งที่ไม่สมควรแก่บรรพชิต นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นใน
ประการที่ 10
ภิกษุทั้งหลาย โทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นใน 10 ประการนี้แล
ราชันเตปุรัปปเวสนสูตรที่ 5 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :99 }